จากนักศึกษาสู่บัณฑิตในประชาคมอาเซียน


                      จากนักศึกษาสู่บัณฑิตสู่การทำงานในประชาคมอาเซียน
                                     ******************************************
          จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจการค้า การศึกษา เทคโนโลยี และการผมสมผสานวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ทำให้ความสัมพันธ์ของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันเริ่มมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น แนวกั้นระหว่างประเทศที่เคยมีความหนา กลับกลายเป็นเพียงเส้นบางๆที่กำลังจะเลือนหายไปจากความคิดของทุกคน  ทั้งนี้เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการค้าของประเทศสมาชิกในแต่ละภูมิภาค กลุ่มประเทศต่างๆกำลังจับมือกันเพื่อรวมเป็นหนึ่งเดียว สร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น หนึ่งในนั้นคือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ที่เรียกกันว่าอาเซียน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกเริ่มแรกมี 5 ประเทศคือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ต่อมามีบรูไนเป็นสมาชิกเพิ่มเป็น 6 ประเทศ และมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกคือพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา รวมเป็น 10 ประเทศ  โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ  วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว (One Vision, One Identity, One Community) ข้อตกลงที่กลุ่มอาเซียนได้มีมติตรงกันเพื่อสร้างกลุ่มประเทศให้มีความเข้มแข็งมี 3 เสาหลักคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
          ปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มประชาคมอาเซียนต่างเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเตรียมความพร้อมทางด้านบัณฑิต ที่จะต้องรองรับความต้องการของตลาดอย่างไร้ขีดจำกัดและกว้างขวาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จะต้องสร้างความตระหนักรู้ของนักศึกษาในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน  การที่จะพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยในอนาคต ให้สามารถออกไปแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมอาเซียนได้   หลักสูตรการสอนต้องกว้างขึ้น และทุกสาขาต้องเชื่อมโยงการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นักศึกษาจะต้องสามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้  และจะต้องมีความพร้อม กล้าเผชิญ ออกไปสู่ตลาดอาเซียน ไม่ใช่ยังคงลักษณะของคนไทยที่มองว่า การอยู่ประเทศไทยดีที่สุด สบายที่สุด ไม่อยากออกไปแข่งขันกับใคร ซึ่งลักษณะดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้ในยุคโลกาภิวัตน์ ได้ เพราะการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนหมายถึงการเปิดประเทศต่อให้เราไม่ออกไป ประเทศต่าง ๆ ก็จะเข้ามาอยู่ดี
  ทั้งนี้หัวใจสำคัญของการเตรียมความพร้อมคือ การติดเครื่องมือให้กับนักศึกษาที่จะก้าวสู่บัณฑิต นั่นคือ ภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาเพื่อนบ้าน อย่างน้อยนักศึกษาจะต้องมีความเข้าใจในภาษาอังกฤษ เพราะเป็นภาษากลางที่เราจะต้องใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิก ตามกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ  ในเมื่ออาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” เราจึงต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ตามความหมายของถ้อยคำว่าเป็นภาษาทำงานของทุกคนในอาเซียน ทุกคนที่ ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน”, “ทำงานในอาเซียน”, ทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน”, “มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน”, “แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน”, “มีเพื่อนในอาเซียนและเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน”  ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี  ไปจนถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษาเด็กและเยาวชนเป็นต้น
          การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียน ชี้ให้เห็นว่าว่าสังคมไทยในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่องที่กระทบต่อวิถีชีวิตที่เคยดาเนินมาในอดีต นักศึกษาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้ ปรับตัว และเตรียมการ (Adaptability  and  Preparation)  คือ ต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่าง ๆ สู่ประชาคมอาเซียน ทั้งในเชิงประโยชน์ที่ได้รับและข้อควรระวัง นักศึกษาจะต้องปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์ สร้างความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อื่น คือพัฒนาตนเองให้แน่ใจว่า สามารถที่จะทำงานกับผู้คนต่างวัฒนธรรมได้ โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ นอกจากนี้แล้วยังต้อง เรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันอีกด้วย
          ฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่นักศึกษาไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน
  พัฒนาตนเองให้มีทักษะเพื่อสามารถแข่งขันกับประชากร 600 กว่าล้านคนในประชาคมอาเซียน อีกทั้งยังต้องต้องมีความตระหนักรู้ เข้าใจ และวางเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน เพื่อให้ตนเองมีความพร้อมต่อการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้
บทความโดย
นายนพดล  อยู่พรหมแดน  รหัสนักศึกษา
530210339
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร
: 080-6797801    E-mail : Nop_tpg@hotmail.com  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประสบการณ์ในแดนมังกร

ท่องยุโรปไปกับยุวชนประชาธิปไตย

ท่องยุโรปไปกับยุวชนประชาธิปไตย
ประสบการณ์ในการทัวร์ยุโรปมา ช่างเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นจริงๆ และผมก็มีรูปภาพสวยๆมาฝากกันมากมายเลยทีเดียวครับ ก็ขอเชิญเยี่ยมชมได้เลยครับ ไปกันเล้ยยยๆ!!!!!