วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สานศิลป์ '56


วนกลับมาบรรจบอีกครั้งกับกิจกรรมงานสานศิลป์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พวกเรานักศึกษาแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะได้ร่วมมือมือกันประกาศอัตลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เพื่อนนักศึกษาจังหวัดอื่นได้เห็นและเข้าใจถึงความเป็นแม่ฮ่องสอน สำหรับปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน 2556 ในงานมีการประกวดซุ้มจังหวัด แข่งขันการทำลาบ แข่งขันร้องเพลงโฟค์ซอง และการแสดง ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้มีพื้นที่ในการพักผ่อน แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแต่ละจังหวัด
 

บรรยากาศภายในงานมีความคึกคักตลอด 3 วันเลย


ด้านหลังซุ้มจังหวัดแม่ฮ่องสอนกำลังทอดข่างปอง และอื่นๆ เพื่อขายให้กับผู้มาเที่ยวชมดูงาน อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำกันมาทุกๆปี นอกจากได้มีกิจกรรมร่วมกันแล้วยังทำให้เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อนๆในจังหวัดด้วยกันเองด้วย


สารพัดกิจกรรมที่เราทำร่วมกัน จังหวัดแม่ฮ่องสอนเราขายขนม เปงม้ง ส่วยทะมิน ข่างปองและอื่นๆ ซึ่งเป็นขนมขึ้นชื่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรา

นักศึกษารุ่นพี่ก็มาให้กำลังใจกับน้องๆ ตลอดจนการช่วยเสนอแนะให้คำปรึกษาในการจัดงาน และให้ข้อคิดในการทำงาน เพื่อให้งานประสบความสำเร็จและมีประสิทธิผลสูงสุด


ร่วมถ่ายรูปกับน้องๆนักแสดงที่นำเอาวัฒนธรรมไทใหญ่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีความโดดเด่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาแสดง ให้กับเพื่อนๆนักศึกษาได้รับชม  ขอบคุณพี่น๊อต วิศวะ ปี 48 ที่ได้กลับมาเยี่ยมพวกเรา หลังจากที่พี่ได้ไปเรียนต่อ ป.โท ที่ประเทศเยอรมัน วันนี้พี่ได้แวะมาให้กำลังใจกับน้องๆ ถือเป็นหนึ่งกำลังใจดีดี อย่างน้อยก็ทำให้เราได้รู้ว่า สิ่งที่พี่ๆได้ริเริ่มไว้นั้น พวกเรายังคงสานต่อ และดำรงให้คงอยู่ เพื่อความเป็นแม่ฮ่องสอนได้ปรากฏอยู่อย่างสง่างามในงานสานศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรา


ปิดท้ายงานด้วยการโชว์สปิริตการบูมของแต่ละจังหวัด งานนี้พวกเราได้แสดงพลังบูมเมืองแม่ให้ปรากฏต่อสายตาผู้ชมอย่างภาคภูมิ  อันเป็นการแสดงถึงพลัง ความยิ่งใหญ่ของเหล่านักศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการสร้างความรู้สึกร่วมอันเป็นหนึ่งเดียวของพวกเราด้วย
กิจกรรมงานสานศิลป์ต่างๆเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบที่เราออกแบบมาเพื่อให้เราได้ทำกิจกรรมร่วมกัน แท้ที่จริงแล้วการที่เราได้มีโอกาสมาพบปะกันต่างหากที่เป็นเป้าหมายสำคัญของพวกเรา ได้มาทบทวนอุดมการณ์ของเราด้วยกัน ในการกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของเรา เพราะเราเป็นพลังส่วนหนึ่งที่จะต้องอยู่ในแนวหน้าของการพัฒนาบ้านเกิด แม่ฮ่องสอนอันเป็นบ้านเกิดของเรายังคงรอคอยพลังจากพวกเราที่จะต้องกลับไปพัฒนาในทุกๆด้าน หนึ่งข้อคิดที่เคยพูดกับน้องๆเสมอคือ "หากเราไม่คิดถึงจังหวัดเราในตอนที่เรายังเรียนอยู่ ก็อย่าไปหวังเลยที่จะคิดถึงจังหวัดเราตอนที่เราจบ" กิจกรรมปีนี้ผ่านไปด้วยดี อยากฝากถึงน้องๆรุ่นหลังๆของให้คงไว้ซึ่งกิจกรรมดีดีนี้ ในปีหน้าหากมีโอกาสก็จะกลับมาเยี่ยมน้องๆและให้กำลังใจน้องๆ ของให้น้องๆทุกคนรักในสิ่งที่เราเป็นอยู่ เพราะแม่ฮ่องสอนเรามีดีมากกว่าที่เราคิด

ครูสังคมศึกษาออนทัวร์ ครั้งที่ 4


เปิดโลกทัศน์ใหม่อีกครั้งกับการศึกษาดูงานของสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ประสบการณ์ที่มิอาจหาได้ในห้องเรียน อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของนักการศึกษา ที่จะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่หมุนไปในทุกๆวัน ผมพร้อมด้วยเพื่อนๆคณาจารย์ได้ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นที่พบเจอ และวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆที่มีความแตกต่าง


เริ่มต้นที่ศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาแบบทางเลือก เป้าหมายอขงเราคือโรงเรียนเพลินพัฒนา ต้นแบบโรงเรียนที่จัดการศึกษาทางเลือกในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนที่ถูกต่อตั้งขึ้นโดย นักวิชาการ นักการศึกษา ผู้ปกครอง ที่ไม่ชอบการศึกษาในระบบที่มองว่าเป็นการจัดการศึกษาที่ปิดกั้นความสามารถของผู้เรียน จึงให้กำเนิดโณงเรียนเพลินพัฒนาขึ้นมา ตลอดระยะเวลา 10 ที่ กับนักเรียน 4 รุ่นที่จบจากโรงเรียนนี้ได้ ได้ตอกย้ำความสำเร็จของการจัดการศึกษาให้กับสังคมได้รับรู้ว่า การศึกษาทางเลือกเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจริงๆในโลกปัจจุบัน ในทางกลับกันก็กลายเป็นโจทย์สำคัญให้กับนักการศึกษาในระบบที่จะต้องหาทางเพื่อพัฒนาการศึกษาในระบบให้ได้รับการยอมรับ และมีคุณภาพดังที่โรงเรียนเพลินพัฒนาจัดเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อพัฒนากำลังของชาติอย่างแท้จริง


ร่วมกันบันทึกภาพประทับใจหน้าหอประชุมของโรงเรียนเพลินพัฒนากับเพื่อนๆรหัส 53 (นักศึกษาชั้นปีที่ 4) หลังจากรับฟังการบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพลินพัฒนา


พักรับประทานอาหารกลางวันด้วยเมนูอาหารแสนอร่อย


เดินทางไปยังคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิปากร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตครู ทำให้เห็นว่าระบบการผลิตครูที่ถูกวางกรอบเอาไว้ แต่สถาบันแต่ละแห่งก็สามารถออกแบบการผลิตที่แตกต่างกันได้ ตามบริบทของสังคมแต่ละที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้


พักผ่อนยามเย็นที่ตลาดหัวหิน


วันรุ่งขึ้นเดินทางไปยังโรงเรียนวังไกลกังวล ต้นกำเนิดของครูตู้ ที่นักเรียนรู้จักนั่นก็คือ การจัดการศึกาาที่มีการถ่ายทอดผ่านดาวเทียม ระบบการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการกระจายโอกาสทางการศึกษาของไทย มาถึงวันนี้ก็ยังคงสานต่อประราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา โอกาสนี้ได้ศึกษาดูงานในห้องบันทึกวีดีโอ และห้องออกอากาศ รวมทั้งยังได้ทดลองการบันทึกวีดีโอสดๆด้วย 


ที่นี่ห้องออกอากาศของสถานีฯ


เดินทางต่อไปยังโครงการในพระราชดำริ ช่างหัวมัน จังหวัดเพชรบุรี หนึ่งในโครงการที่รวบรวมเอาพันธุ์พืชทางการเกษตรที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมาปลูก จากที่เคยเป็นพื้นที่ว่างเปล่า แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับซื้อมาด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และ้วจัดทำเป็นแปลงทดลองพันธุ์พืชต่างๆ ทั้งยังได้นำเอาระบบปลิตพลังงานทดแทนมาใช้ด้วย ได้เห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการปลูกพืชที่มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการนี้


พักผ่อนยามเย็นริมหาดกับเพื่อนๆ


ในช่วงค่ำคืนก็เอร็ดอร่อยกับอาหารทะเล

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปลุกพลังในตัวเรา


วันที่ 15 ตุลาคม 2556 มีโอกาสได้เข้าไปยังโรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าที่ผมจบมา พร้อมด้วยภารกิจการแนะแนวการศึกาาให้กับน้องๆม.6 ที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่การสอบเข้าในระดับอุดมศึกษา ประทับใจภาพที่เคยมอบไว้ให้กับโรงเรียน ซึ่งถูกจัดอยู่บนชั้นด้านบน นั่นคือ ภาพที่ผมรับรางวัลนักเรียนพระราทานเมื่อปี 2553 ทางโรงเรียนยังคงเก็บไว้เป็นอย่างดี  หวังเล็กๆของผมคือ การได้สร้างแรงบันดาลให้กับน้องๆทุกๆ ได้ค้นพบตัวเอง เพื่อเดินไปตามเส้นทางที่เราถนัด เราชอบ เพราะว่าชีวิตคือการเดินทาง ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่ เส้นทางก็จะทอดผ่านให้เราก้าวเดินต่อไป


น้องๆชั้น ม.6 ได้ให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้เป็นจำนวนมาก เข้าใจความรู้สึกดี กับการได้รับฟังข้อเสนอจากพี่ๆผู้มีประสบการณ์ในระดับอุดมศึกษา เพราะว่าการพูดคุยกันแบบพี่น้อง จะช่วยลดความกดดัน ลดกำแพงที่กั้นระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ไม่เหมือนกับเราอยู่ในห้องเรียนที่มีครูสอน น้องๆให้ความสนในเป็นจำนวนมาก เก้าอี้ไม่เพียงพอ จนถึงกับน้องนั่นกับพื้นเลยทีเดียว


น้องๆชั้นปีที่ 1 ซึ่งเพิ่งจบจากโรงเรียนไปเมื่อปีที่แล้ว บอกเล่าเรื่องราวดีดี และแนะแนวทางในการทำความฝันของตนเอง จากหลายๆสถาบัน อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ


จริยนิสัย พลานามัยดี มีปัญญา สามัคคี ยังคงดังกึกก้องในใจลูกเขียว-หลืองคนนี้เสมอ


ได้เห็นสปิริตของ น้องกันทชาติ คงอุป หรือน้่องแหนม ในการนำทีมเพื่อนนักศึกษามาพูดคุยกับน้องๆชั้น ม.6 แล้ว รู้สึกมั่นใจว่ากิจกรรมแนะแนวที่ผมเคยทำมาทุกๆปี จะดำเนินต่อไปในทุกๆปี ขแเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกๆคนกับการเข้าสู่สนามสอบ แต่ก็ไม่อยากให้เครียดมาก เพราะว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงเส้นทางหนึ่งเท่านั้น  ยังคงมีเส้นทางอีกเป็นร้อยๆ ที่จะนำพาน้องๆไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ ขอเพียงแค่ให้น้องๆรู้จักตนเอง ค้นหาตัวเองให้เจอ ก็พอ ดังคำที่ผมมักพูดกับน้องๆเสมอที่ว่า
"หาตัวเองให้พบ คบตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้คุ้ม คุมตัวเองให้อยู่ และรู้ตัวเองให้จริง"

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โครงการต้นกล้าครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 1


สถานีเกษตหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่


นาขั้นบันไดแม่กาน


หน้าโรงเรียนจอมทอง


บ้านป้าแสงดา บ้านไร่ไผ่งาม


ดูการทอผ้า ที่บ้านป้าแสงดา


ท้องทุ่งศึกษาในยามที่นาข้าวกำลังออกรวง


สุขสันต์กับการศึกษานอกห้องเรียน


ทอดบทเรียนจากการศึกษาดูงาน
นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ มั่งคั่ง
สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ลูกช้าง คืนถิ่น ครั้งที่ 1


ลงสีน้ำมันบริเวณฐานของโรงอาหารเพื่อความสวยงาม ภารกิจนี้อาจร้อนไปนิด แต่ก็มีความสุขดีกับการได้ลงมือทำงานเพื่อสังคม ได้สัมผัสถึงคุณค่าของการให้มากขึ้น ผ่านโครงการลูกช้างคืนถิ่นครั้งที่ 1


ผู้แทน ส.ส. สมบัติ ยะสินธุ์ มอบอุปกรณ์กีฬาให้กับน้องๆโรงเรียนบ้านปุงยาม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากท่าน ส.ส.จะเป็นที่ปรึกษาโครงการให้แล้ว ท่านยังได้มอบสี และอุปกรณ์ทาสีให้กับโครงการ ขอขอบคุณที่ได้ร่วมสนับสนุนให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ 


เข้าแถว 8 โมงเช้า กับน้องๆนักเรียนโรงเรียนบ้านปุงยาม


ชุดชิงช้าที่ทีมงานได้มอบให้กับโรงเรียน ตอนนี้ทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เห็นภาพน้องๆไปนั่นชิงช้า ก็รู้สึกถึงความสุขที่พวกเขามี เวลามีของเล่นชุดใหม่ๆมา วันนี้พี่ๆนำมาได้แค่ชุดเดียว โอกาสหน้าคงมีทีมผู้ใหญ่ใจดีมามอบให้กับน้องๆในชุดที่ใหญ่กว่านี้นะ


ทีมงานชุมชนสัมพันธ์เริ่มปฎิบัติการ โดยการออกชุมชน เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน หมู่บ้านปุงยาม มีทีมงานแปลภาษาไทยใหญ่เป็นภาษาไทยด้วย จากการเรียนรู้ร่วมกันทำให้ได้เปิดมุมมองใหม่้ๆกับการทำความรู้จักวิถีวิตของพี่น้องในเขตชายแดนไทย-รัฐฉาน มากขึ้น


เพื่อนศักดิ์ หนึ่งในทีมงานที่เป็นกำลังสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนถึงโครงการประสบผลสำเร็จ โอกาสหน้าคงได้ร่วมงานกันอีก กับภารกิจของชาวอาสาพัฒนา


กิจกรรมมิตติ้งในวันแรกของค่ายที่มีความอบอุ่นระหว่างพี่น้องของชาวค่ายในโครงการลูกช้างคืนถิ่น ครั้งที่ 1 แม้จำนวนของชาวค่ายจะน้อยกว่าค่ายอื่นๆ (38 คน) แต่ก็มีมากมายด้วยพลังของการมีจิตอาสาอันยิ่งใหญ่ ที่พวกเรามีความตั้งใจจะมอบสิ่งดีดีให้กับสังคม


แวะพักระหว่างการเดินทางไปค่าย


จัดซื้อวัสดุที่จะขนเข้าไปในค่าย


อาหารมื้อค่ำใต้แสงเทียนแสนโรแมนติก

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครูศรีไพร จันทร์เขียว

   วันนี้มีโอกาสไปพูดคุยคุณครูท่านหนึ่งถึงเทคนิควิธการสอนนักเรียนในโรงเรียนเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ ทำให้ได้ทราบถึงแนวคิดทางสอนนักเรียนของครูท่านนี้ ซึ่งแตกต่างจากครูทั่วๆไป คุณครูศรีไพร จันทร์เขียว ครูเชี่ยวชาญ ของโรงเรียนวัดช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่เขต 1 ผู้ที่ได้รับการยอมรับด้านการสอน และผลงานทางวิชาการในวงกว้าง รับรางวัลต่างๆมากมาย และเป็นครูที่มีเทคนิคการสอนที่โดดเด่น จากการพูดคุยทำให้ได้ทราบว่าการสอนนักเรียนนั้นสิ่งที่เราต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ ธรรมชาติของวิชาที่จะสอนกับธรรมชาติของเด็กนักเรียน แล้วถึงหาวิธีการจูนเข้าหากัน



    ครูศรีไพร  จันทร์เขียว เป็นหนึ่งในต้นแบบครูของจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการยอมรับจากทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและในระดับประเทศ ในการเป็นครูที่สอนเก่ง และมีคุณธรรมจริยธรรม โดยได้นำการสอนภายใต้โครงการวิถีพุทธเข้ามาช่วยจัดการเรียนการสอน การดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน โดยใช้บริบททางชุมชนที่มีอยู่เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน สอนให้นักเรียนปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลาย และแตกต่าง ครูจึงได้รับรางวัลต่างๆมากมาย ในที่นี้จึงไม่ขอพูดถึงรางวัลในระดับเขตพื้นที่เพราะว่ามีโล่รางวัลเต็มห้องแล้ว แต่รางวัลที่มีความภาคภูมิใจมากที่สุดอยู่ 3 รางวัล ของการเป็นครูคือ
 - ครูต้นแบบสังคมศึกษา  ระดับประเทศ
 - ครูภูมิปัญญาไทยด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
 - ครูแห่งแผ่นดิน  ระดับประเทศ

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

เยาวชนดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2556


เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติปีนี้ได้รับเกียรติจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ให้เข้ารับรางวัลเยาวชนดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ ผู้มีัชื่อเสียงในระดับประเทศ ผ่านรางวัลนักศึกษาพระราชทานประจำปี 2555 โดยได้รับมอบเกียรติบัตรจากนายพิเชฐ พิศุทธกุล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้มอบ ในงานวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายน 2556 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเซทรัล แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ จึงขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ 


ร่วมบันทึกภาพกับท่านประธานในพิธี พร้อมด้วยเยาวชนดีเด่นประจำปี 2556 คนอื่นๆที่ได้รับการคัดเลือกจากน้องๆที่มีความหลากหลายความสามารถ ในจังหวัดเชียงใหม่ อีกหนึ่งรางวัลที่ช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้กับเยาวชนในการมุ่งมั่นพัฒนาตนเองตามศักยภาพและเติบโตเป็นกำลังที่เก่งและดีของสังคมในอนาคต


ลูกช้าง 3 เชือก กับรางวัลที่เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของผู้ใหญ่ใจดี สถาบันอันเป็นที่รัก ในการส่งเสริม สนับสนุนจนทำให้มีวันนี้ได้ น้องเบ้นซ์ นักเรียนพระราชทาน จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มากด้วยความสามารถด้านดนตรี และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในระดับโลก สามารถติดตามผลงานน้องได้ที่ https://www.facebook.com/sirinutsiritikul.benzlunas  ด้านขวาสุดคือพี่ต้น นักศึกษารางวัลพระราชทานประเภทคนพิการ  จากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ จนได้รับรางวัลมากมาย สามารถติดตามผลงานพี่ต้นได้ที่ https://www.facebook.com/arkorn.srilarod?fref=pb&hc_location=friends_tab


อีส นักศึกษารางวัลพระราชทานจากมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ นักศึกษารางวัลพระราชทานคนแรกของพายัพในรอบ 40 ปี  ซึ่งจบการศึกษาปีนี้ และกำลังจะไปเรียนต่อปริญญาโท ด้านการพัฒนาการศึกษา สาขานโยบายด้านการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนด้วยครับ และคงได้มีโอกาสได้ร่วมงานกันในโอกาสต่อๆไป สามารถติดตามผลงานของอีสได้ที่ https://www.facebook.com/paulcabincrew?fref=pb&hc_location=friends_tab


ร่วมถ่ายภาพกับน้องนักเรียนที่มาร่วมรับรางวัลในวันนี้ด้วยกัน เข้ามาทักทายกันด้วยภาษาปกาเก่อญอ รู้เลยว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน ขอแสดงความยินดีกับน้องๆด้วยครับ ขอให้รักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็ม และให้ประโยชน์แก่สังคมที่เราอยู่ต่อไป

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ลูกช้างคืนถิ่น

     วันนี้ได้ชวนน้องๆนักศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปเดินกล่อง เล่นกีต้าร์ร้องเพลง เพื่อขอรับการบริจาคเงิน เพื่อสมทุบทุนออกค่ายอาสาพัฒนาฯค่ายแรกของกลุ่มนักศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้ชื่อ โครงการลูกช้างคืนถิ่น  โดยมีเป้าหมายอยู่ที่โรงเรียนบ้านปุงยาม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน  วันนี้ถือเป็นวันสุดท้ายของการเปิดกล่องขอรับบริจาค มีน้องๆแต่ละชั้นปีมาร่วมประชาสัมพันธ์โครงการหลายคนเลยทีเดียว ในเบื้องต้นของโครงการที่ถือว่าเป็นก้าวแรกของการริเริ่มนี้เป็นที่น่าพึงพอใจ ก้าวต่อไปเราคงต้องมาวางแผนกันเกี่ยวกับรายละเอียดกิจกรรมที่เราจะไปจัดในหมู่บ้านและโรงเรียน โดยเฉพาะกับน้องๆโรงเรียนบ้านปุงยาม  ผมบอกกับน้องๆเสมอว่าเงินแต่ละบาทที่เราได้รับจากการบริจาคนั้น เป็นเพียงเศษเงินที่เหลือจากการจับจ่ายใช้สอยของผู้ให้ แต่มันมีความหมายที่ยิ่งใหญ่นั้นก็คือ จิตใจแห่งการให้ ถูกส่งผ่านเหรียญและแบงค์ที่หย่อนลงในกล่อง ภารกิจของเราคือนำเงินทุกบาททุกสตางค์ที่เราได้รับไปสร้างกิจกรรมตามที่เราได้ให้สัญญากับผู้ใจบุญไว้  และความมหายที่แท้จริงของค่ายก็คงไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงิน หรือสิ่งของที่เราจะไปมอบ ไปสร้าง หากเป็นอยู่ที่การมีจิตใจแห่งการให้ การอาสา จิตสาธารณะ และจิตใจแห่งการสำนึกรักบ้านเกิดของพวกเราชาวแม่ฮ๋องสอน ขอให้โครงการของพวกเราประสบความสำเร็จดังที่เราได้ตั้งเป้าหมายไว้.


"การให้เกียรติผู้อื่น"

           วันนี้วันที่ 14 เดือนกันยายน  2556 มีโอกาสได้ไปเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนความคิดกับน้องๆชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่  ในหัวข้อเกี่ยวกับการเป็นสุภาพบุรุษ ตลอดการพูดคุยทำให้ได้มองเห็นการเปลี่ยนปลงในเชิงพัฒนาการของวาทกรรมที่ว่า สุภาพบุรุษ ในสมัยก่อนเราพบเจอคำนี้ได้บ่อยมากตามสื่อต่างๆ  แต่ในช่วงหลังๆมานี้เราเห็นการเปลี่ยนปลงในเชิงสังคมมากขึ้น มีการเรียกร้องความความเท่าเทียมกันของเพศหญิงเพิ่มมากขึ้นทำให้คำว่าสุภาพบุรุษ ไม่ค่อยมีการนำมาใช้มากนัก แต่จะเปลี่ยนปลงไปเป็นคำอื่นๆมากกว่า  ซึ่งแตกต่างกับในสมัยก่อนที่ผู้ชายเป็นใหญ่  หรือในสมัยอยุธยาผู้ชายสามารถขายเมียได้ ภาพเหล่านี้กลายเป็นเพียงประวัติศาสตร์ที่เห็นได้ในตำราแต่ปัจจุบันภาพเหล่านี้ได้ถูกลบออกด้วย สังคมแห่งเสรีนิยม ที่เน้นความเท่าเท่าเทียมกันของคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมนั้นเป็นผลจากการพลวัตรของสังคมทั้งสิ้น


      การพูดคุยลกเปลี่ยนในวันนี้ทำให้ได้รับทราบทัศนคติของน้องๆในโรงเรียนต่อการทำชีวิตตนเองให้มีคุณค่า ละเชื่อว่าวิธีคิดที่เราได้แลกเปลี่ยนจะเป็นชุดความรู้ที่เราแต่ละคนฝ่ายจะเอามาคิดเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นอยู่ได้   เหนือสิ่งอื่นก็คือการได้ดำรงตนเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ เพราะ คุณค่าของชีวิตเราอยู่ที่การมีชีวิตอยู่เพื่อให้ผู้อื่นมีความสุข

ประสบการณ์ในแดนมังกร

ท่องยุโรปไปกับยุวชนประชาธิปไตย

ท่องยุโรปไปกับยุวชนประชาธิปไตย
ประสบการณ์ในการทัวร์ยุโรปมา ช่างเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นจริงๆ และผมก็มีรูปภาพสวยๆมาฝากกันมากมายเลยทีเดียวครับ ก็ขอเชิญเยี่ยมชมได้เลยครับ ไปกันเล้ยยยๆ!!!!!