หากจะกล่าวถึงสงครามเวียดนามแล้วคงเป็นที่รู้จักกันดีสงครามหนึ่งที่เกิดการสูญเสียกำลังคนไปเป็นจำนวนมาก
และเป็นสงครามที่ยาวนานตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงจนถึงปี
2518 สงครามครั้งนี้มีทหารอเมริกันเสียชีวิตจำนวน
58,226 นาย และบาทเจ็บอีกจำนวน 153,303 นาย
คาดว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในสงครามครั้งนี้ประมาณ 900,000 – 4,000,000 คน ถือว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญที่ผลิกโฉมหน้าของ Pax Americana ให้อยู่ในช่วงวิกฤติเลยก็ว่าได้
ในระหว่างช่วงท้ายของสงครามเวียดนามและภายหลังหลังสงครามเวียดนามได้ทำให้เศรษฐกิจและการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ผลกระทบของสงครามเวียดนามนั้นมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อทั้งสองฝ่าย สำหรับเวียดนามแม้จะเป็นฝ่ายชนะสงครามแต่ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก สิบห้าปีหลังจากสงครามสิ้นสุดลง เวียดนามยังคงอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ขัดสน สำหรับอเมริกานั้น สงครามทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก สร้างความอับอายและเป็นการปิดฉากนโยบายการเข้าแทรกแซงกิจการระหว่างประเทศที่เคยมีอิทธิพลอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1950-1960 แม้ว่าประธานาธิบดีคนต่อมาก็คือโรนัลด์ เรแกน ที่พยายามลบกระแส Vietnam Syndrome นี้ออกไปและปรับปรุงนโยบาย Containment คือ นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น มีวัตถุประสงค์ที่จะยุติการขยายตัวของสหภาพโซเวียต แต่ก็ประสบความสำเร็จในส่วนหนึ่งเท่านั้นเป็นความจริงที่ว่าในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ที่ภาพของสงครามเวียดนามยังคงตราตึงและหลอกหลอนชาวอเมริกันและยังมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของอเมริกานับตั้งแต่ตอนนั้นผ่านภาพยนตร์ที่ปรากฏให้เห็นในสหรัฐหลายเรื่อง เช่น PLATOON, TAXIDRIVER, BORN TO KILL, CASVALTLES OF WAR, THE DEER HUNTER เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่สะท้อนภาพความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามเวียดนามโดยทั้งสิ้น
การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและการเมืองโลกที่เห็นได้อย่างชัดเจนเป็นผลมาจากการตกต่ำของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ฐานะการแข่งขันของสหรัฐอเมริกาในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกได้อ่อนแอลงไปเป็นอย่างมากในทศวรรษ ๑๙๖๗ เนื่องมาจาก ประเทศญี่ปุ่นและประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเติบโตขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้งบประมาณอย่างมากในสงครามเวียดนาม ประเทศญี่ปุ่นและประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเติบโตมาจากการเร่งรัดการผลิตและส่งออกสินค้าที่มากขึ้นทำให้มีการขยายตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งรัฐบาลประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี และ ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เลือกดำเนินนโยบายการเงิน – การคลัง แบบขยายตัว (Expansionary Policy) อย่างต่อเนื่อง ทั้งสหรัฐอเมริกายังได้ใช้งบประมาณอย่างมากในสงครามเวียดนาม ยิ่งทำให้ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขาดดุลอย่างรุนแรง ทำให้ในทศวรรษ 1960-กลางทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตในอัตราสูง ทำให้ญี่ปุ่นมีฐานะดุลการค้าเกินดุล และมีสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่าง
ในระหว่างช่วงท้ายของสงครามเวียดนามและภายหลังหลังสงครามเวียดนามได้ทำให้เศรษฐกิจและการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ผลกระทบของสงครามเวียดนามนั้นมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อทั้งสองฝ่าย สำหรับเวียดนามแม้จะเป็นฝ่ายชนะสงครามแต่ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก สิบห้าปีหลังจากสงครามสิ้นสุดลง เวียดนามยังคงอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ขัดสน สำหรับอเมริกานั้น สงครามทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก สร้างความอับอายและเป็นการปิดฉากนโยบายการเข้าแทรกแซงกิจการระหว่างประเทศที่เคยมีอิทธิพลอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1950-1960 แม้ว่าประธานาธิบดีคนต่อมาก็คือโรนัลด์ เรแกน ที่พยายามลบกระแส Vietnam Syndrome นี้ออกไปและปรับปรุงนโยบาย Containment คือ นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น มีวัตถุประสงค์ที่จะยุติการขยายตัวของสหภาพโซเวียต แต่ก็ประสบความสำเร็จในส่วนหนึ่งเท่านั้นเป็นความจริงที่ว่าในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ที่ภาพของสงครามเวียดนามยังคงตราตึงและหลอกหลอนชาวอเมริกันและยังมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของอเมริกานับตั้งแต่ตอนนั้นผ่านภาพยนตร์ที่ปรากฏให้เห็นในสหรัฐหลายเรื่อง เช่น PLATOON, TAXIDRIVER, BORN TO KILL, CASVALTLES OF WAR, THE DEER HUNTER เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่สะท้อนภาพความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามเวียดนามโดยทั้งสิ้น
การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและการเมืองโลกที่เห็นได้อย่างชัดเจนเป็นผลมาจากการตกต่ำของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ฐานะการแข่งขันของสหรัฐอเมริกาในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกได้อ่อนแอลงไปเป็นอย่างมากในทศวรรษ ๑๙๖๗ เนื่องมาจาก ประเทศญี่ปุ่นและประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเติบโตขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้งบประมาณอย่างมากในสงครามเวียดนาม ประเทศญี่ปุ่นและประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเติบโตมาจากการเร่งรัดการผลิตและส่งออกสินค้าที่มากขึ้นทำให้มีการขยายตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งรัฐบาลประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี และ ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เลือกดำเนินนโยบายการเงิน – การคลัง แบบขยายตัว (Expansionary Policy) อย่างต่อเนื่อง ทั้งสหรัฐอเมริกายังได้ใช้งบประมาณอย่างมากในสงครามเวียดนาม ยิ่งทำให้ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขาดดุลอย่างรุนแรง ทำให้ในทศวรรษ 1960-กลางทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตในอัตราสูง ทำให้ญี่ปุ่นมีฐานะดุลการค้าเกินดุล และมีสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่าง

รวดเร็ว
และกลายเป็นประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ของโลก
คงจำได้ว่าเป็นยุคที่บริษัทญี่ปุ่นก็จะเป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์
และบริษัทใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกดังกล่าวมีส่วนซ้ำเติมปัญหาและความศรัทธาเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอ่อนแอลง
ผลที่ตามมาจากสถานการณ์ดังกล่าว
คือ รัฐบาลหลายต่อหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลประธานาธิบดีเดอโกล
แห่งฝรั่งเศส
นำเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาไปแลกกลับเป็นทองคำบริสุทธิ์จากรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาย่อมมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับทองคำบริสุทธิ์
แต่รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาไม่ยินยอมลดค่าเงินของตนเองลง เพราะเหตุผลหลัก
ไม่ต้องการให้สหภาพโซเวียต (ในขณะนั้น) และสหภาพแอฟริกาใต้
ซึ่งเป็นผู้ส่งออกทองคำหลักได้รับผลประโยชน์เต็ม ๆ
จากการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้สหรัฐอเมริกามีการขาดดุลการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นและต่อเนื่อง
(ขนาดของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คิดเป็นร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ประมาณครึ่งหนึ่งของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปัจจุบัน) ทำให้ประเทศต่างๆ
ไม่มีความมั่นใจต่อเงินดอลลาร์ และได้พยายามแลกเงินดอลลาร์เป็นทองคำ
ในที่สุดประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน
ได้ประกาศยกเลิกการรับแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกากับทองคำบริสุทธิ์เมื่อวันที่
๑๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๗๑ ระบบเบรตตันวูดส์จึงยกเลิกการใช้ไป
แม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกินขึ้นตอนหลังสงครามเวียดนาม แต่ก็เกิดระหว่างการสิ้นสุดสงครามเวียดนาม
ค่าเงินดอลลาร์ที่สูงเกินความเป็นจริงนี้ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ และสินค้าส่งออกต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาไม่สามารถแข่งขันได้ ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงเป็นที่มาของข้อตกลงพลาซา หรือ The Plaza Accord ข้อตกลงพลาซาเป็นการประชุมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานธนาคารกลางของประเทศอุตสาหกรรมหลัก 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น ได้จัดให้มีการประชุมร่วมกันที่โรงแรมพลาซา กรุงนิวยอร์ก และในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1985 ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในระดับทวิภาคีในการร่วมกันแทรกแซง ที่จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เพื่อลดความไม่สมดุลของการค้าโลก
โดยสหรัฐอเมริกาจะลดการค้าขาดดุลการคลังและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดควบคู่ไปกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ประเทศอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนประเทศญี่ปุ่นจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ควบคู่ไปกับการปฏิรูปภาคการเงิน ผลจากข้อตกลงดังกล่าว ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอ่อนตัวลงมาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 2 ปีจากข้อตกลงดังกล่าว ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 46% เมื่อเทียบกับเงินดอยช์มาร์คของเยอรมนีในขณะนั้น และมีค่าอ่อนลง 50% เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ซึ่ง ณ สิ้นปี 1987 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอ่อนค่าลงเฉลี่ย 54% เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่น
จากการล้มสลายของระบบเบรตตันวูดส์ ก็เกิดการเริ่มขึ้นของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในบทบาททางการเมืองชัดเจนในสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1970 ซึ่งปัจจัยที่เอื้อให้อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ ได้รับการยอมรับในสังคมขณะนั้น คือ บรรยากาศทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม การต่อต้านรัฐอำนาจนิยม ซึ่งกำลังเบ่งบานสุดขีดในช่วงทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องเสรีภาพของปัจเจกชน ที่นำโดยนักศึกษา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกในปี 1968 ส่วนในสหรัฐอเมริกามีกลุ่มต่อต้านสงครามเวียตนามจากหลายซึ่งพุ่งประเด็นไปที่ค่าใช้จ่ายที่อเมริกาเสียไปทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่มากเกินกว่าที่ทุกคนคิดไว้อีกด้วย เกิดการตั้งคำถามเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เหตุผลสมควรในการทำสงคราม รวมทั้งท้าทายนโยบายที่เกี่ยวกับสงครามเย็น กระแสต่างเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการจำกัดอำนาจและบทบาทของจอห์นสันและนิกสันซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนต่อมาที่สำคัญก็คือความโกลาหลและการแบ่งแยกทางความคิดสร้างความลำบากให้กับผู้ที่จะกำหนดนโยบายความเป็นไปของประเทศเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความพยายามในการแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้
กระบวนการทำให้เป็นเสรีนิยมใหม่ (neoliberalisation) หยิบฉวยเอาทุนทางวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมที่ฝังราก (Embedded liberalism) อย่างมั่นคงในสังคมตะวันตก โดยผู้นำกระบวนการนี้ได้เน้นนำคุณค่าที่เป็นเสาหลักของแนวคิดเสรีนิยมคือ “อิสรภาพและเสรีภาพส่วนบุคคล” รวมทั้งสร้างสิ่งใหม่ๆเพื่อออกแบบ ผลิต และผลิตซ้ำคุณค่าเหล่านั้นให้เข้าแทนที่คุณค่าเดิมและผสมกลมกลืนกับคุณค่าอื่นอย่างแนบเนียนจนกลายเป็น "สามัญสำนึก" ของสมาชิกแต่ละคนในสังคม
เสรีนิยมใหม่กลายเป็นเทรนด์ของเศรษฐกิจโลกแต่ก็ใช้ว่าทุกอย่างจะง่ายในการที่ให้ทุกคนยอมรับเทรนด์ใหม่ของชาติมหาอำนาจในขณะนั้น แม้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งพยายามผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนามาสู่เสรีนิยมใหม่แต่ก็ดูเหมือนว่าทั้งสององค์กรก็ยังไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศต่างๆ ได้จนกระทั่งเกิดวิกฤติน้ำมันครั้งที่สอง (Oil Shock) ที่เป็นผลมาจากการลดค่าเงินค่าเงินเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาของสหรัฐอเมริกาซึ่งเกิดในปลายทศวรรษที่ 1970 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูง แนวคิดของเคนเซียนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) กลายเป็นที่พึ่งของชาติต่างๆ รวมไปถึงประเทศไทย ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องปรับตนเองไปสู่การเป็นเสรีนิยมใหม่ไปโดยปริยาย จุดเปลี่ยนที่สำคัญภายในองค์กรของไอเอ็มเอฟ คือ การเปลี่ยนถ่ายเอานักเศรษฐศาสตร์สายเสรีนิยมใหม่ เข้าแทนที่พวกเคนส์เซียนใน ช่วงปี 1982 ซึ่งทำให้ไอเอ็มเอฟกลายเป็นกลไกรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในสหรัฐอเมริกาและกระบอกเสียง(การบอกกล่าวให้เป็นแนวทางในการปรับเป็นเสรีนิยมแนวใหม่)ของเสรีนิยมใหม่ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเต็มตัว
การเข้าสู่การเป็นเสรีนิยมใหม่ของประเทศกำลังพัฒนาเหล่านั้น มีผลทำให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจหรือการเกิดวิกฤตฟองสบู่ ( Bubble economy) ในเวลาต่อมา ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดวิกฤติน้ำมันครั้งที่สอง (Oil Shock) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการลดค่าเงินค่าเงินเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาของสหรัฐอเมริกาซึ่งเกิดในปลายทศวรรษที่ 1970 ส่งผลกระทบทางลบไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น ประเทศอินเดียต้องใช้เงินสำรองต่างประเทศถึงครึ่งหนึ่งเพื่อชำระค่าน้ำมันมาก ในปีเดียวกันนั้นประเทศจีนก็สั่งนำมันนำเข้าภายในประเทศเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 50 ของเงินสำรองระหว่างประเทศเช่นกัน นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อของโลกและสหรัฐอเมริกาพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 10 ในช่วง วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ฉุดให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือสภาวะที่เศรษฐกิจซบเซาแต่เงินเฟ้อสูง และวิกฤติราคาน้ำมันที่เป็นเหตุการณ์ในปี 1973 สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่มีการผลิตที่ล้นตลาด และการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ฐานการผลิตจากเดิมในการใช้สินค้าจากประเทศตะวันตก คือ สหรัฐ ยุโรป ย้ายมาเป็นประเทศที่ฝั่งตะวันออก เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น
ค่าเงินดอลลาร์ที่สูงเกินความเป็นจริงนี้ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ และสินค้าส่งออกต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาไม่สามารถแข่งขันได้ ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงเป็นที่มาของข้อตกลงพลาซา หรือ The Plaza Accord ข้อตกลงพลาซาเป็นการประชุมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานธนาคารกลางของประเทศอุตสาหกรรมหลัก 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น ได้จัดให้มีการประชุมร่วมกันที่โรงแรมพลาซา กรุงนิวยอร์ก และในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1985 ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในระดับทวิภาคีในการร่วมกันแทรกแซง ที่จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เพื่อลดความไม่สมดุลของการค้าโลก
โดยสหรัฐอเมริกาจะลดการค้าขาดดุลการคลังและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดควบคู่ไปกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ประเทศอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนประเทศญี่ปุ่นจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ควบคู่ไปกับการปฏิรูปภาคการเงิน ผลจากข้อตกลงดังกล่าว ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอ่อนตัวลงมาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 2 ปีจากข้อตกลงดังกล่าว ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 46% เมื่อเทียบกับเงินดอยช์มาร์คของเยอรมนีในขณะนั้น และมีค่าอ่อนลง 50% เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ซึ่ง ณ สิ้นปี 1987 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอ่อนค่าลงเฉลี่ย 54% เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่น
จากการล้มสลายของระบบเบรตตันวูดส์ ก็เกิดการเริ่มขึ้นของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในบทบาททางการเมืองชัดเจนในสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1970 ซึ่งปัจจัยที่เอื้อให้อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ ได้รับการยอมรับในสังคมขณะนั้น คือ บรรยากาศทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม การต่อต้านรัฐอำนาจนิยม ซึ่งกำลังเบ่งบานสุดขีดในช่วงทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องเสรีภาพของปัจเจกชน ที่นำโดยนักศึกษา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกในปี 1968 ส่วนในสหรัฐอเมริกามีกลุ่มต่อต้านสงครามเวียตนามจากหลายซึ่งพุ่งประเด็นไปที่ค่าใช้จ่ายที่อเมริกาเสียไปทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่มากเกินกว่าที่ทุกคนคิดไว้อีกด้วย เกิดการตั้งคำถามเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เหตุผลสมควรในการทำสงคราม รวมทั้งท้าทายนโยบายที่เกี่ยวกับสงครามเย็น กระแสต่างเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการจำกัดอำนาจและบทบาทของจอห์นสันและนิกสันซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนต่อมาที่สำคัญก็คือความโกลาหลและการแบ่งแยกทางความคิดสร้างความลำบากให้กับผู้ที่จะกำหนดนโยบายความเป็นไปของประเทศเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความพยายามในการแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้
กระบวนการทำให้เป็นเสรีนิยมใหม่ (neoliberalisation) หยิบฉวยเอาทุนทางวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมที่ฝังราก (Embedded liberalism) อย่างมั่นคงในสังคมตะวันตก โดยผู้นำกระบวนการนี้ได้เน้นนำคุณค่าที่เป็นเสาหลักของแนวคิดเสรีนิยมคือ “อิสรภาพและเสรีภาพส่วนบุคคล” รวมทั้งสร้างสิ่งใหม่ๆเพื่อออกแบบ ผลิต และผลิตซ้ำคุณค่าเหล่านั้นให้เข้าแทนที่คุณค่าเดิมและผสมกลมกลืนกับคุณค่าอื่นอย่างแนบเนียนจนกลายเป็น "สามัญสำนึก" ของสมาชิกแต่ละคนในสังคม
เสรีนิยมใหม่กลายเป็นเทรนด์ของเศรษฐกิจโลกแต่ก็ใช้ว่าทุกอย่างจะง่ายในการที่ให้ทุกคนยอมรับเทรนด์ใหม่ของชาติมหาอำนาจในขณะนั้น แม้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งพยายามผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนามาสู่เสรีนิยมใหม่แต่ก็ดูเหมือนว่าทั้งสององค์กรก็ยังไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศต่างๆ ได้จนกระทั่งเกิดวิกฤติน้ำมันครั้งที่สอง (Oil Shock) ที่เป็นผลมาจากการลดค่าเงินค่าเงินเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาของสหรัฐอเมริกาซึ่งเกิดในปลายทศวรรษที่ 1970 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูง แนวคิดของเคนเซียนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) กลายเป็นที่พึ่งของชาติต่างๆ รวมไปถึงประเทศไทย ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องปรับตนเองไปสู่การเป็นเสรีนิยมใหม่ไปโดยปริยาย จุดเปลี่ยนที่สำคัญภายในองค์กรของไอเอ็มเอฟ คือ การเปลี่ยนถ่ายเอานักเศรษฐศาสตร์สายเสรีนิยมใหม่ เข้าแทนที่พวกเคนส์เซียนใน ช่วงปี 1982 ซึ่งทำให้ไอเอ็มเอฟกลายเป็นกลไกรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในสหรัฐอเมริกาและกระบอกเสียง(การบอกกล่าวให้เป็นแนวทางในการปรับเป็นเสรีนิยมแนวใหม่)ของเสรีนิยมใหม่ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเต็มตัว
การเข้าสู่การเป็นเสรีนิยมใหม่ของประเทศกำลังพัฒนาเหล่านั้น มีผลทำให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจหรือการเกิดวิกฤตฟองสบู่ ( Bubble economy) ในเวลาต่อมา ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดวิกฤติน้ำมันครั้งที่สอง (Oil Shock) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการลดค่าเงินค่าเงินเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาของสหรัฐอเมริกาซึ่งเกิดในปลายทศวรรษที่ 1970 ส่งผลกระทบทางลบไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น ประเทศอินเดียต้องใช้เงินสำรองต่างประเทศถึงครึ่งหนึ่งเพื่อชำระค่าน้ำมันมาก ในปีเดียวกันนั้นประเทศจีนก็สั่งนำมันนำเข้าภายในประเทศเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 50 ของเงินสำรองระหว่างประเทศเช่นกัน นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อของโลกและสหรัฐอเมริกาพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 10 ในช่วง วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ฉุดให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือสภาวะที่เศรษฐกิจซบเซาแต่เงินเฟ้อสูง และวิกฤติราคาน้ำมันที่เป็นเหตุการณ์ในปี 1973 สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่มีการผลิตที่ล้นตลาด และการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ฐานการผลิตจากเดิมในการใช้สินค้าจากประเทศตะวันตก คือ สหรัฐ ยุโรป ย้ายมาเป็นประเทศที่ฝั่งตะวันออก เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น
ภายหลังสงครามเวียดนามกับการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ
กรณีอาเซียน อาเซียนก่อตั้งขึ้นในบรรยากาศของสงครามเย็น
และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รูปลักษณ์สำคัญที่สุดสงครามเย็นคือสงครามเวียดนาม
ซึ่งเมื่อมีการก่อตั้งอาเซียน ใน ค.ศ.1967 กล่าวได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงสูงสุด
สหรัฐอเมริกาเข้าไปแทรกแซงทางทหารในเวียดนามโดยตรงและสงครามทางอากาศต่อเวียดนามเหนือที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้น
ค.ศ.1965 ก็ยังดำเนินอยู่อย่างเต็มกำลัง แม้ว่าอาเซียนจะจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มิใช่เป็นพันธมิตรทางทหารอย่าง
เช่น องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast
Asia Treaty Organization SEATO) ที่มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว
แต่การเป็นกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ของอาเซียนในขณะนั้นก็ปราศจากข้อสงสัยใดๆ
ที่จะปฏิเสธได้และสมาชิกอาเซียน 2 ชาติ คือ
ไทยและฟิลิปปินส์ก็ส่งทหารไปรบในเวียดนามใต้ด้วย
เวียดนามจึงอยู่คนละฝ่ายกับอาเซียนและประเทศไทยมาแต่ต้น
แต่ภายหลังสงครามเวียดนามอาเซียนได้แสดงตัวเป็นกลางทางการเมืองโลกมากขึ้น
แม้ว่าผู้สนับสนุนให้เกิดอาเซียนจะมีสหรัฐอเมริกาแต่หลังสงครามเวียดนามสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้มีบทบาทในอาเซียนมากนัก
ผลจากข้อตกลงพลาซา หรือ The
Plaza Accord (1985) ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง
ในขณะที่ค่าเงินเยนมีค่าแข็งขึ้นจาก 250 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ กลายเป็น 150 เยนต่อ 1
ดอลลาร์ หรือแข็งค่าขึ้นเกือบ 70% ภายในเวลาเพียง 10 เดือน
ซึ่งนั่นทำให้ญี่ปุ่นต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ด้วยการลดต้นทุนทุกอย่าง
เพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ
ซึ่งไทยและหลายๆประเทศในอาเซียนก็พลอยได้รับอานิสงส์จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นไปด้วย
ทำให้อาเซียนยิ่งมีบทบาทในภาคเศรษฐกิจโลกเพิ่มมากขึ้น ตราบจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นประเทศฝ่ายสังคมนิยม (CLMV) ก็ได้ทยอยเข้ามาเป็นประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
เวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ ค.ศ. 1995
ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน ค.ศ. 1997 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา
เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ ค.ศ. 1999
แสดงให้เห็นว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก
ที่ภาคเศรษฐกิจมีความสำคัญมากกว่าภาคอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้อาเซียนกลายเป็นองค์ต่างประเทศที่มีความเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริงตามอุดมการณ์เดิมในตอนแรกเริ่มการก่อตั้ง
อาวุธนิวเคลียร์จะเปนวิธีการสุดทายของการชวยตนเองของประเทศต่างๆ การสะสมหรือไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์ต่างกันไป เริ่มจากเรื่องการเปนพันธมิตรกัน ซึ่งเกิดขึ้นมาในยุคสงครามเย็นที่แตละขั้วอภิมหาอํานาจใหหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยแกพันธมิตรของตน ยกตัวอย่าง เชน เยอรมันกับญี่ปุ่น ไมไดพัฒนาอาวุธนิวเคลียรของตนขึ้นมาเพราะมีสหรัฐอเมริกา เปนหลักประกันความมั่นคง เพราะสหรัฐอเมริกาสัญญาที่จะขัดขวางประเทศใดก็ตามที่จะมาขมขูพันธมิตรของตนดวยอาวุธนิวเคลียร จึงทําใหทั้งญี่ปุนและเยอรมัน แนใจไดวาไมจําเปนตองพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาปกป้องตนเอง แต่ก็ยังมีพันธมิตรชาติอื่นที่มีขนาดเล็กกว่านี้ บางชาติมีความแตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ต่างเริ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้น เมื่อเล็งเห็นว่าสหรัฐอเมริกาอาจถอนกำลังทหารออกไปจากเอเชียในช่วงทศวรรษที่ 1970 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามเวียดนาม การสะสมอาวุธนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นก็มีบทบาทในสถานการณ์โลก แม้ว่าทั้งสองประเทศที่เริ่มสะสมอาวุธนิวเคลียร์ก็มีผลกระทบในระดับการเมืองโลกเช่นกัน
อาวุธนิวเคลียร์จะเปนวิธีการสุดทายของการชวยตนเองของประเทศต่างๆ การสะสมหรือไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์ต่างกันไป เริ่มจากเรื่องการเปนพันธมิตรกัน ซึ่งเกิดขึ้นมาในยุคสงครามเย็นที่แตละขั้วอภิมหาอํานาจใหหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยแกพันธมิตรของตน ยกตัวอย่าง เชน เยอรมันกับญี่ปุ่น ไมไดพัฒนาอาวุธนิวเคลียรของตนขึ้นมาเพราะมีสหรัฐอเมริกา เปนหลักประกันความมั่นคง เพราะสหรัฐอเมริกาสัญญาที่จะขัดขวางประเทศใดก็ตามที่จะมาขมขูพันธมิตรของตนดวยอาวุธนิวเคลียร จึงทําใหทั้งญี่ปุนและเยอรมัน แนใจไดวาไมจําเปนตองพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาปกป้องตนเอง แต่ก็ยังมีพันธมิตรชาติอื่นที่มีขนาดเล็กกว่านี้ บางชาติมีความแตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ต่างเริ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้น เมื่อเล็งเห็นว่าสหรัฐอเมริกาอาจถอนกำลังทหารออกไปจากเอเชียในช่วงทศวรรษที่ 1970 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามเวียดนาม การสะสมอาวุธนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นก็มีบทบาทในสถานการณ์โลก แม้ว่าทั้งสองประเทศที่เริ่มสะสมอาวุธนิวเคลียร์ก็มีผลกระทบในระดับการเมืองโลกเช่นกัน
การแข่งขันกันสะสมอาวุธที่มีกำลังการทำลายสูงดังกล่าว
ได้สร้างความตึงเครียดและหวาดกลัวต่อคนทั้งโลก
ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่โลกทั้งเสี่ยงต่อการที่จะต้องผจญกับสงครามทำลายล้างโลก
นานาชาติจึงเริ่มเรียกร้องให้มีการจำกัดจำนวนอาวุธร้ายแรง
องค์การสหประชาชาติได้รณรงค์ให้ทศวรรษที่ 1970 เป็นทศวรรษแห่งการลดอาวุธ
ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้ประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
พยายามเปิดการเจรจาลดกำลังอาวุธ โดยการเจรจาตกลงและร่างสนธิสัญญา
และประสบผลสำเร็จใน ค.ศ. 1972
ด้วยการยอมรับข้อตกลงในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 1 (The Strategic
Arms Limitation Talks – SALT I) จากที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า
ช่วงท้ายของสงครามเวียดนามและภายหลังหลังสงครามเวียดนามได้ทำให้เศรษฐกิจและการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก
เริ่มจากมหาอำนาจในขณะนั้น คือ สหรัฐอเมริกา มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเมืองเป็นอย่างมาก
อันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเมืองโลกด้วย
สหรัฐอเมริกาต้องพบเจอกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งจากดำเนินนโยบายการเงิน –
การคลัง แบบขยายตัว (Expansionary Policy) อย่างต่อเนื่อง
ทั้งยังได้ใช้งบประมาณอย่างมากในสงครามเวียดนามและสวัสดิการทหาร
การเกิดวิกฤติน้ำมันในช่วงเดียวกันนั้นยังมีผลทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายิ่งตกต่ำ
ทำให้ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขาดดุลอย่างรุนแรง
มีผลให้ประเทศญี่ปุ่นและประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเติบโตมาจากการเร่งรัดการผลิตและส่งออกสินค้าที่มากขึ้นทำให้มีการขยายตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
เชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอ่อนแอลงและในที่สุด
ระบบเบรตตันวูดส์ก็ถูกยกเลิกการใช้ไปก่อนการสิ้นสุดสงครามเวียดนามเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น
ต่อมาเกิดการเริ่มขึ้นของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในบทบาททางการเมืองชัดเจนในสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1970 ซึ่งปัจจัยที่เอื้อให้อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ คือ การเรียกร้องเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม การต่อต้านรัฐอำนาจนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการทำสงครามเวียดนามของสหรัฐอเมริกา ส่วนในทางเศรษฐกิจก็มีการใช้เสรีนิยมใหม่ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ทำให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณมากขึ้นว่าเดิมอย่างมาก เพราะรัฐเข้าไปแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ เสรีนิยมใหม่กลายเป็นเทรนด์ของเศรษฐกิจโลก และถูกบังคับใช้ไปทั่วโลกผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ในส่วนของการเติบโตขึ้นของอาเซียนที่มาจากการลงทุนของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นได้ผลประโยชน์จากข้อตกลงพลาซา หรือ The Plaza Accord (1985) และยังแสดงให้เห็นว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ภาคเศรษฐกิจมีความสำคัญมากกว่าภาคอุดมการณ์ทางการเมืองในประเทศสังคมนิยมในอาเซียน ส่วนในเรื่องของการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ จากที่สหรัฐอเมริกาถอนกำลังทหารออกไปจากเอเชียในช่วงทศวรรษที่ 1970 ทำให้เกาหลีใต้และไต้หวัน ต่างเริ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจในการปกป้องตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งกระบวนการของการเพิ่มอำนาจในการต่อรอง.
โดย นายนพดล อยู่พรหมแดน ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ต่อมาเกิดการเริ่มขึ้นของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในบทบาททางการเมืองชัดเจนในสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1970 ซึ่งปัจจัยที่เอื้อให้อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ คือ การเรียกร้องเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม การต่อต้านรัฐอำนาจนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการทำสงครามเวียดนามของสหรัฐอเมริกา ส่วนในทางเศรษฐกิจก็มีการใช้เสรีนิยมใหม่ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ทำให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณมากขึ้นว่าเดิมอย่างมาก เพราะรัฐเข้าไปแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ เสรีนิยมใหม่กลายเป็นเทรนด์ของเศรษฐกิจโลก และถูกบังคับใช้ไปทั่วโลกผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ในส่วนของการเติบโตขึ้นของอาเซียนที่มาจากการลงทุนของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นได้ผลประโยชน์จากข้อตกลงพลาซา หรือ The Plaza Accord (1985) และยังแสดงให้เห็นว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ภาคเศรษฐกิจมีความสำคัญมากกว่าภาคอุดมการณ์ทางการเมืองในประเทศสังคมนิยมในอาเซียน ส่วนในเรื่องของการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ จากที่สหรัฐอเมริกาถอนกำลังทหารออกไปจากเอเชียในช่วงทศวรรษที่ 1970 ทำให้เกาหลีใต้และไต้หวัน ต่างเริ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจในการปกป้องตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งกระบวนการของการเพิ่มอำนาจในการต่อรอง.
โดย นายนพดล อยู่พรหมแดน ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
*************************************************
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
กัญญณัฏฐา อิทธินิติวุฒิ.องค์การระหว่างประเทศ.เชียงใหม่:คะนึงนิจการพิมพ์, 2549.
ธนู แก้วโอภาส. สงครามแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ลอจิก, ม.ป.ป.
ธนู แก้วโอภาส. สงครามแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ลอจิก, ม.ป.ป.
ธีระ นุชเปี่ยม.เวียดนามหลัง 1975. กรุงเทพฯ:ดอกหญ้า,2537.
สมรนิติทัณฑ์ประกาศ, ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกค.ศ.1945-ปัจจุบัน, (กรุงเทพ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกสรศาสตร์. 2553)
James A. Tyner, America’s strategy in Southeast Asia : From the Cold War
to the Terror War (New York : Rowman, 2007) 70.
เอกสารออนไลน์
ข้อตกลงพลาซา (The Plaza Accord) แหล่งข้อมูล
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q3/2007july05p1.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น