วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สานศิลป์ '56


วนกลับมาบรรจบอีกครั้งกับกิจกรรมงานสานศิลป์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พวกเรานักศึกษาแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะได้ร่วมมือมือกันประกาศอัตลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เพื่อนนักศึกษาจังหวัดอื่นได้เห็นและเข้าใจถึงความเป็นแม่ฮ่องสอน สำหรับปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน 2556 ในงานมีการประกวดซุ้มจังหวัด แข่งขันการทำลาบ แข่งขันร้องเพลงโฟค์ซอง และการแสดง ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้มีพื้นที่ในการพักผ่อน แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแต่ละจังหวัด
 

บรรยากาศภายในงานมีความคึกคักตลอด 3 วันเลย


ด้านหลังซุ้มจังหวัดแม่ฮ่องสอนกำลังทอดข่างปอง และอื่นๆ เพื่อขายให้กับผู้มาเที่ยวชมดูงาน อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำกันมาทุกๆปี นอกจากได้มีกิจกรรมร่วมกันแล้วยังทำให้เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อนๆในจังหวัดด้วยกันเองด้วย


สารพัดกิจกรรมที่เราทำร่วมกัน จังหวัดแม่ฮ่องสอนเราขายขนม เปงม้ง ส่วยทะมิน ข่างปองและอื่นๆ ซึ่งเป็นขนมขึ้นชื่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรา

นักศึกษารุ่นพี่ก็มาให้กำลังใจกับน้องๆ ตลอดจนการช่วยเสนอแนะให้คำปรึกษาในการจัดงาน และให้ข้อคิดในการทำงาน เพื่อให้งานประสบความสำเร็จและมีประสิทธิผลสูงสุด


ร่วมถ่ายรูปกับน้องๆนักแสดงที่นำเอาวัฒนธรรมไทใหญ่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีความโดดเด่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาแสดง ให้กับเพื่อนๆนักศึกษาได้รับชม  ขอบคุณพี่น๊อต วิศวะ ปี 48 ที่ได้กลับมาเยี่ยมพวกเรา หลังจากที่พี่ได้ไปเรียนต่อ ป.โท ที่ประเทศเยอรมัน วันนี้พี่ได้แวะมาให้กำลังใจกับน้องๆ ถือเป็นหนึ่งกำลังใจดีดี อย่างน้อยก็ทำให้เราได้รู้ว่า สิ่งที่พี่ๆได้ริเริ่มไว้นั้น พวกเรายังคงสานต่อ และดำรงให้คงอยู่ เพื่อความเป็นแม่ฮ่องสอนได้ปรากฏอยู่อย่างสง่างามในงานสานศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรา


ปิดท้ายงานด้วยการโชว์สปิริตการบูมของแต่ละจังหวัด งานนี้พวกเราได้แสดงพลังบูมเมืองแม่ให้ปรากฏต่อสายตาผู้ชมอย่างภาคภูมิ  อันเป็นการแสดงถึงพลัง ความยิ่งใหญ่ของเหล่านักศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการสร้างความรู้สึกร่วมอันเป็นหนึ่งเดียวของพวกเราด้วย
กิจกรรมงานสานศิลป์ต่างๆเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบที่เราออกแบบมาเพื่อให้เราได้ทำกิจกรรมร่วมกัน แท้ที่จริงแล้วการที่เราได้มีโอกาสมาพบปะกันต่างหากที่เป็นเป้าหมายสำคัญของพวกเรา ได้มาทบทวนอุดมการณ์ของเราด้วยกัน ในการกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของเรา เพราะเราเป็นพลังส่วนหนึ่งที่จะต้องอยู่ในแนวหน้าของการพัฒนาบ้านเกิด แม่ฮ่องสอนอันเป็นบ้านเกิดของเรายังคงรอคอยพลังจากพวกเราที่จะต้องกลับไปพัฒนาในทุกๆด้าน หนึ่งข้อคิดที่เคยพูดกับน้องๆเสมอคือ "หากเราไม่คิดถึงจังหวัดเราในตอนที่เรายังเรียนอยู่ ก็อย่าไปหวังเลยที่จะคิดถึงจังหวัดเราตอนที่เราจบ" กิจกรรมปีนี้ผ่านไปด้วยดี อยากฝากถึงน้องๆรุ่นหลังๆของให้คงไว้ซึ่งกิจกรรมดีดีนี้ ในปีหน้าหากมีโอกาสก็จะกลับมาเยี่ยมน้องๆและให้กำลังใจน้องๆ ของให้น้องๆทุกคนรักในสิ่งที่เราเป็นอยู่ เพราะแม่ฮ่องสอนเรามีดีมากกว่าที่เราคิด

ครูสังคมศึกษาออนทัวร์ ครั้งที่ 4


เปิดโลกทัศน์ใหม่อีกครั้งกับการศึกษาดูงานของสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ประสบการณ์ที่มิอาจหาได้ในห้องเรียน อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของนักการศึกษา ที่จะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่หมุนไปในทุกๆวัน ผมพร้อมด้วยเพื่อนๆคณาจารย์ได้ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นที่พบเจอ และวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆที่มีความแตกต่าง


เริ่มต้นที่ศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาแบบทางเลือก เป้าหมายอขงเราคือโรงเรียนเพลินพัฒนา ต้นแบบโรงเรียนที่จัดการศึกษาทางเลือกในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนที่ถูกต่อตั้งขึ้นโดย นักวิชาการ นักการศึกษา ผู้ปกครอง ที่ไม่ชอบการศึกษาในระบบที่มองว่าเป็นการจัดการศึกษาที่ปิดกั้นความสามารถของผู้เรียน จึงให้กำเนิดโณงเรียนเพลินพัฒนาขึ้นมา ตลอดระยะเวลา 10 ที่ กับนักเรียน 4 รุ่นที่จบจากโรงเรียนนี้ได้ ได้ตอกย้ำความสำเร็จของการจัดการศึกษาให้กับสังคมได้รับรู้ว่า การศึกษาทางเลือกเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจริงๆในโลกปัจจุบัน ในทางกลับกันก็กลายเป็นโจทย์สำคัญให้กับนักการศึกษาในระบบที่จะต้องหาทางเพื่อพัฒนาการศึกษาในระบบให้ได้รับการยอมรับ และมีคุณภาพดังที่โรงเรียนเพลินพัฒนาจัดเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อพัฒนากำลังของชาติอย่างแท้จริง


ร่วมกันบันทึกภาพประทับใจหน้าหอประชุมของโรงเรียนเพลินพัฒนากับเพื่อนๆรหัส 53 (นักศึกษาชั้นปีที่ 4) หลังจากรับฟังการบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพลินพัฒนา


พักรับประทานอาหารกลางวันด้วยเมนูอาหารแสนอร่อย


เดินทางไปยังคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิปากร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตครู ทำให้เห็นว่าระบบการผลิตครูที่ถูกวางกรอบเอาไว้ แต่สถาบันแต่ละแห่งก็สามารถออกแบบการผลิตที่แตกต่างกันได้ ตามบริบทของสังคมแต่ละที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้


พักผ่อนยามเย็นที่ตลาดหัวหิน


วันรุ่งขึ้นเดินทางไปยังโรงเรียนวังไกลกังวล ต้นกำเนิดของครูตู้ ที่นักเรียนรู้จักนั่นก็คือ การจัดการศึกาาที่มีการถ่ายทอดผ่านดาวเทียม ระบบการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการกระจายโอกาสทางการศึกษาของไทย มาถึงวันนี้ก็ยังคงสานต่อประราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา โอกาสนี้ได้ศึกษาดูงานในห้องบันทึกวีดีโอ และห้องออกอากาศ รวมทั้งยังได้ทดลองการบันทึกวีดีโอสดๆด้วย 


ที่นี่ห้องออกอากาศของสถานีฯ


เดินทางต่อไปยังโครงการในพระราชดำริ ช่างหัวมัน จังหวัดเพชรบุรี หนึ่งในโครงการที่รวบรวมเอาพันธุ์พืชทางการเกษตรที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมาปลูก จากที่เคยเป็นพื้นที่ว่างเปล่า แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับซื้อมาด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และ้วจัดทำเป็นแปลงทดลองพันธุ์พืชต่างๆ ทั้งยังได้นำเอาระบบปลิตพลังงานทดแทนมาใช้ด้วย ได้เห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการปลูกพืชที่มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการนี้


พักผ่อนยามเย็นริมหาดกับเพื่อนๆ


ในช่วงค่ำคืนก็เอร็ดอร่อยกับอาหารทะเล

ประสบการณ์ในแดนมังกร

ท่องยุโรปไปกับยุวชนประชาธิปไตย

ท่องยุโรปไปกับยุวชนประชาธิปไตย
ประสบการณ์ในการทัวร์ยุโรปมา ช่างเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นจริงๆ และผมก็มีรูปภาพสวยๆมาฝากกันมากมายเลยทีเดียวครับ ก็ขอเชิญเยี่ยมชมได้เลยครับ ไปกันเล้ยยยๆ!!!!!